วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

จอร์จ ไซมอน โอห์ม : George Simon Ohm



  



   






เกิด        วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกนประเทศเยอร์มนี
เสียชีวิต วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่เมืองมิวนิคประเทศเยอรมนี
ผลงาน   - ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า
             - ตั้งกฎของโอห์ม (Ohm's Law)
     โอห์มเกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 ที่เมืองเออร์แลงเกน ประเทศเยอรมนี บิดาของเขาชื่อว่า โจฮัน โอห์ม (John Ohm) มีอาชีพเป็นช่างทำกุญแจ และปืน แม้ว่าฐานะทางครอบครัวของเขาจะค่อนข้างยากจน ถึงอย่างนั้นโอห์มก็ขวนขวายหา
ความรู้อยู่เสมอ โอห์มเข้าเรียนขั้นต้นในโรงเรียนรีลสคูลในแบมเบิร์ก หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว โอห์มได้เข้าศึกษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเออร์แลงเกน (University of Erlangen) แต่เรียนอยู่ได้เพียงปีกว่า ๆ เท่านั้นเขาก็ลาออก เพราะขาดทุนทร
ัพย์ จากนั้นโอห์มได้สมัครงานเป็นครูสอนหนังสือที่ Gattstodt ในเมืองเบิร์น (Bern)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาโอห์มได้เข้าศึกษาต่ออีกครั้งหนึ่ง และได้รับปริญญาเอกทางคณิตศาสตร์ แต่เขาก็ยังคงทำงานอยู่ที่โรงเรียนแห่งนั้นจนกระทั่วปี ค.ศ. 1817 โอห์มได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรดเดอริคแห่งปรัสเซีย (King Frederick of Prussia) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ประจำวิทยาลัยจีสุท (Jesuit College) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลญ (Cologne University) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์




คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์ : Karl Wilhelm Scheele




เกิด        ค.ศ. 1742 ที่สตารล์สัน โพมีราเนีย ประเทศสวีเดิน
เสียชีวิต  26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ประเทศสวีเดิน
ผลงาน   - ค.ศ. 1770 พบกรดทาร์ทาริก (Tartaric)
              - ค.ศ. 1774 พบก๊าซคลอรีน (Chlorine)
              - ค.ศ. 1779 พบกลีเซอรีน (Glycerine)
         เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตามธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน

         เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนินกิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น

จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Science) และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น



เบนจามิน แฟรงคลิน : Benjamin Franklin



เกิด        วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
เสียชีวิต วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ที่กรุงบอสตัน (Boston) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน   - ค้นพบประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ
             - ประดิษฐ์สายล่อฟ้า
              ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นความลับทางธรรมชาติอยู่จนกระทั่งเบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และวิธีป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แฟรงคลินได้เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมเท่านั้น เขายังเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญคนหรนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย
           แฟรงคลินเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า โจซิอาร์ แฟรงคลิน มีอาชีพทำสบู่ และเทียนไข ซึ่งลี้ภัยทางศาสนาจากประเทศอังกฤษมาอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกา แฟรงคลินได้รับการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนใกล้ ๆ บ้านเขานั่นเอง แต่เรียนอยู่ได้ 2 ปี เท่านั้น ก็ต้องลาออก เพราะครอบครัวของเขาค่อนข้างจะยากจน และต้องช่วยเหลือกิจการทำสบู่ และเทียนไขของครอบครัว แม้ว่ากิจการจะเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ แต่แฟรงคลิน ก็ยังต้องการศึกษาต่อ ซึ่งบิดาของเขาก็เห็นใจและเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี บิดาก็ส่งเขาไปอยู่กับเจมส์ แฟรงคลิน (James Franklin) พี่ชายคนโต ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์ชื่อว่า นิว อิงแลนด์ เคอร์เรนท์ (New England Current) อยู่ที่กรุงบอสตัน แฟรงคลินช่วยงานในโรงพิมพ์อย่างขยันขันแข็ง โดยครั้งแรกเขาได้ฝึกงานในตำแหน่งช่างพิมพ์ ต่อมาเขาได้ลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น เหตุเกิดขึ้น จากวันหนึ่งแฟรงคลิน ได้นำงานเขียนของเขาไปใส่รวมไว้กับงานของนักเขียนคนอื่น เมื่อเจมส์ได้อ่านก็รู้สึกชอบ และตีพิมพ์เรื่องของ แฟรงคลิน เมื่อผลงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของชาวเมือง แฟรงคลินจึงออกมาเปิดเผยว่านั่นคือบทความของเขา ทำให้พี่ชายเขาโกรธมาก และก็มีปากเสียงกับแฟรงคลินอย่างรุนแรง


อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier



เกิด        วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
เสียชีวิต วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
ผลงาน   - พบสมบัติของการสันดาป หรือการเผาไหม้
ลาวัวซิเยร์วิชาเคมียิ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากผลงานการค้นพบทางเคมีของเขาหลายชิ้น
ลาวัวซิเยร์เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นผู้ที่มั่งคั่งที่สุด
ในปารีสก็ว่าได้ทั้งบิดาและมาตดาของเขาต่างก็มาจากตระกูลที่มั่งคั่งบิดาของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายแระจำรัฐสภา ชื่อว่า ฌาน อังตวน ลาวัวซิเยร์ (Jean Anton Lavoisier) ส่วนมารดาชื่อว่า เอมิลี่ ปุงตีส เป็นบุตรีของเลาขานุการ ของนายทหารเรือยศนายพลเรือโทและยังเป็นทนายความชื่อดัง อีกทั้งยังเป็นสมาชิกรัฐสภากรุงปารีสอีกด้วย เมื่อลาวัวซิเยร์อายุได้ 7 ปี มารดาเขาเสียชีวิต บิดาได้ส่งลาวัวซิเยร์ไปอยู่กับน้า เนื่องจากฐานะทางครอบครัวที่ร่ำรวยของลาวัวซิเยร์ทำให้เขาได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจากที่จบการศึกษาเบื้องต้นแล้ว พ่อของเขาก็ส่งเขาไปเรียนต่อวิชากฎหมายที่วิทยาลัยมาซาริน (Mazarin College) ด้วยพ่อของเขาต้องการให้เขาเป็นทนายเช่นเดียวกับพ่อและตานั่นเองในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้ เขามีโอกาสได้ศึกษาวิชาต่าง ๆมากมาย รวมถึงวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เมื่อเขาเรียนจบวิชากฎหมาย ลาวัวซิเยร์ก็ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นทนายความ แต่กลับไปศึกษาต่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แทน โดยเฉพาะวิชาเคมี ลาวัวซิเยร์เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ หรือวิชาอุตุนิยมวิทยา (Meteorology) โดยเขาใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิของอากาศวันละหลาย ๆ ครั้งแล้วจดบันทึกอุณหภูมิไว้ทุกครั้ง และทำเช่นนี้ทุกวันจนกระทั่งเขาเสียชีวิต และด้วยวิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ต่อมาเขา สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ




เซอร์เจมส์ แชดวิก (Sir James Chadwick)


 
ประวัติ
         เชอร์ เจมส์ แชดวิก ( Sir. James Chadwick ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิดเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม ค..1897 ที่Cheshire ประเทศ อังกฤษ และ เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม ค.. 1974 ที่ Cambridge ประเทศอังกฤษ
เจมส์ แชดวิก Sir. James Chadwick นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี ค..1935จากการค้นพบ อนุภาคชนิดหนึ่งในอะตอม นั่นก็คือ นิวตรอน (Neutron) แชดวิก เรียนที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์( The University of Manchester) และมหาวิทยาลัยแคมบริด (The University of Cambridge)  ในปี ค..1914 แชดวิกไปเรียนที่ The Technische Hochschule ที่เมือง Berlin ปัจจุบันคือ The Technical University of Berlin โดยเป็นนักศึกษาของ ฮาน ไกเกอร์(Hans Geiger)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แชดวิก ได้ร่วมงานกับ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ในการทดลองการแผ่รังสีแกมมาจากวัตถุ และยังได้ร่วมกับนักศึกษาลักษณะของนิวเคลียส ในปี 1932 แชดวิก ได้ค้นพบสิ่งที่เป็นพื้นฐานของนิวเคลียส นั่นคืออนุภาคที่อยู่ในอะตอม ต่อมาเรียกว่า นิวตรอน ซึ่งมีลักษณะไม่มีประจุไฟฟ้า การพบนิวตรอนของ แชดวิก เกิดจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอนุภาคเบาคือ เบริลเลียม เมื่อถูกชนด้วยรังสีแอลฟา แล้วพบว่า มีพลังงานหรือรังสีบางอย่างเกิดขึ้น ที่ไปชนโปรตอนในพาราฟิน ทำให้โปรตอนในพาราฟินถูกขับออกมา
ผลงาน
เป็นผู้ค้นพบอนุภาคที่เรียกว่า " นิวตรอน " ( Neutron ) จากการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังอะตอมต่าง ๆ
คิดคำนวณมวลของนิวตรอน เท่ากับ 1.675 X 10-24 กรัม



ดีโมครีตัส




     นานมาแล้วมีนักปรัชญาบางคนที่มีแนวความคิดดังกล่าวคนหนึ่งชื่อ ดิโมครีตัส (Democritus)  ผู้มีชีวิตในสมัยกรีกเมื่อประมาณ 2400 ปีมาแล้ว  เราทราบเรื่องของดิโมครีตัสและทฤษฎีของเขา  ก็เพราะมีข้อความที่เขาเขียนไว้ตกทอดมาถึงพวกเรา  อันที่จริงอาจมีของคนอื่น ๆ อีกที่มีความคิดเห็นคล้าย ๆ กันแต่ไม่มีหลักฐานแสดงไว้  ดิโมครีตัสกล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจากอนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้  อนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อก่อตัวเป็นสิ่งของแต่ละอย่าง  สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดิโมครีตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า “อะตอม (atom)  จากภาษากรีกที่ว่า  atomos  ซึ่งมีความหมายว่า  “ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก”  ตามความคิดเห็นของเขาอะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้
     ดีโมครีตัสได้ยกตัวอย่างของน้ำขึ้นอธิบาย  โดยสมมติให้เรานำน้ำมาหยดหนึ่งและโดยวิธีหนึ่งวิธีใดเราแบ่งหยดน้ำนี้ออกเป็นหยดน้ำที่เล็กกว่าสองหยด  และถ้าเป็นไปได้ที่จะมีเครื่องมือสำหรับการแบ่งนี้  เราก็อาจจะแบ่งหยดน้ำที่เล็กแล้วนี้ให้เล็กลง ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ  แต่ว่าเราจะสามารถแบ่งต่อไปเรื่อย ๆ ได้ตลอดไปหรือ



รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolph Diesel)




 เกิด         วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)
 เสียชีวิต  ค.ศ.1913 ที่ลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
 ผลงาน    - ประดิษฐ์เครื่องยนต์แบบดีเซล
         ปัจจุบันเครื่องยนต์ประเภทอัดอากาศ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่าเครื่องยนต์ดีเซล เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในรถยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซล เพราะทั้งประหยัดและมีประสิทธิภาพในการใช้งานดีมากชนิดหนึ่ง และผลงานชิ้นนี้ก็ได้เกิดจากความทุ่มเทของ นักวิศวกรผู้หนึ่งที่ชื่อว่า รูดอล์ฟ ดีเซล
          ดีเซลเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1858 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่อันที่จริงแล้ว เขาเป็นชาวเยอรมัน แต่บิดามารดา ได้อพยพมาอยู่ที่ฝรั่งเศส ดีเซลเกิดมาในตระกูลที่มีฐานะดีพอสมควร ทำให้เขาได้รับการศึกษาทีดีมาก อีกทั้งเขาเป็นคนที่มีความ  เฉลียวฉลาด สำหรับการศึกษาขึ้นต้นดีเซลได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปศึกษาที่โรงเรียน  อาชีวศึกษาที่อ็อกซเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ดีเซลสามารถเรียนได้ดีมาก โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเครื่องกลต่าง ๆ
แม้ว่าดีเซลจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเครื่องทำน้ำแข็งของลินเดเลย แต่เขาก็มีความคิดที่จะสร้างเครื่องกลชนิดอื่น ๆ และในระหว่างนี้ เขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักร ดีเซลสามารถประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซแอมโมเนียแทนการใช้พลังงานไอน้ำได้ และเครื่อง ยนต์ที่อาศัยหลักการสันดาป ซึ่งเครื่องยนต์ของดีเซลก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับดีเซลมากที่สุด ก็คือ เครื่องยนต์แบบใช้อากาศอัด โดยดีเซลเกิดความคิดมาจากขณะที่เขากำลังนั่งสังเกตการณ์เครื่องเปลี่ยนความร้อนเป็นพลังงาน ซึ่งใช้ในการเดินเครื่องยนต์ผลิตน้ำแข็ง เขาได้นำหลักการ


ศ.อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล


  
             ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์  นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ชาวอิสราเอล มีกำหนดเดินทางเพื่อเข้ารับมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ในสาขาวิชาเคมี ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2555 ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ จะมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "The Revolution of Personalized Medicine – Are we going to cure all diseases and at what price???"  โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เชิญชวนบุคลากรและนักศึกาษาเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษในโอกาสสำคัญนี้ด้วย

ผลงานของศาสตราจารย์อารอน ชิชาโนเวอร์ช่วยให้เข้าใจในระดับโมเลกุลว่าเซลล์ควบคุมศูนย์กลางการทำงานโดยการเลือกตัดแบ่งเอาโปรตีนเฉพาะตัว ตัวอย่างของกระบวนการควบคุมโดยโปรตีนตัวกลางยูบิควิติน(ubiquitin-mediated protein) ของการทำลาย ได้แก่ การแบ่งเซลล์ออกเป็นส่วนๆ การซ่อมแซมDNA การควบคุมคุณภาพของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อระบบทำลายทำงานไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดการป่วย ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูกและโรคซีสติกไฟโบรซีส (โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลส่วนมากต่อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร) ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัยนี้จะเป็นโอกาสในการพัฒนายาที่จะช่วยรักษาโรคและเรื่องอื่นๆ ได้



ยุลิอุส โลทาร์ ไมเออร์(Julius Lothar Meyer)


 

     ยูลิอุสโยทาร์ ไมเออร์  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  และเดมิทริ อิวาโนวิช เมเดเลเอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ศึกษารายละเอียดของธาตุมากขึ้น  พบว่าถ้าจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก  ธาตุจะมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ  เมเดเลเอฟจึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎพีริออดิก”   โดยได้เสนอความคิดนี้ในปี พ.ศ. 2412  ก่อนที่ไมเออร์จะเสนอผลงานเพียงหนึ่งปี  เพื่อเป็นเกียรติแก่เมเดเลเอฟ  จึงเรียกตารางนี้ว่า ตารางพีริออดิกของเมเดเลเอฟ 
     ยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์(นักเคมีชาวเยอรมัน)
เมเดเลเอฟได้นำสมบัติที่คล้ายคลึงกันของธาตุซึ่งปรากฎซ้ำกันเป็นช่วง ๆ มาพิจารณาประกอบกับการจัดเรียงธาตุตามมวลอะตอม  และยังได้เว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่มีการค้นพบ  โดยตำแหน่งของธาตุในตารางมีความสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุ  และยังได้ทำนายสมบัติของธาตุที่ยังไม่มีการค้นพบไว้ 3 ธาตุ  โดยให้ชื่อว่า  เอคาโบรอน , เอคาอะลูมินัม , เอคาซิลิคอน  ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีผู้ค้นพบธาตุที่เมเดเลเอฟได้ทำนายไว้  ซึ่งก็คือธาตุสแกนเดียม (Sc)  แกลเลียม (Ga)  และเจอร์มเเนียม (Ge)  ตามลำดับ


ตารางเปรียบเทียบสมบัติของเอคาซิลิคอนกับเจเมเนียม 
สมบัติ
เอคาซิลิคอน
ทำนายเมื่อ พ.ศ. 2414
เจอร์เมนียม
ทำนายเมื่อ พ.ศ. 2429
มวลอะตอม
72
72.6
ความหนาแน่น (g/cm3)
5.5
5.47
สี
เทาเข้ม
เทาขาว
ความหนาแน่นของออกไซด์ (g/cm3)
EsO2 = 4.7
GeO2 = 4.70
ความหนาแน่นของคลอไรด์ (g/cm3)
EsCl4 = 1.9
GeCl4 = 1.89
จุดเดือดสารประกอบของคลอไรด์
< 100 OC
86 OC
     ตารางธาตุของเมเดเลเอฟยังมีปัญหาคือไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงต้องเรียงธาตุตามมวลอะตอม  เนื่องจากในสมัยนั้นการศึกษาเรื่องโครงสร้างอะตอมและไอโซโทปยังไม่ชัดเจน  แต่ได้มีผู้เสนอแนวคิดไว้ว่าตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุไม่น่าจะเรียงตามมวลอะตอม  แต่น่าจะขึ้นอยู่กับสมบัติอื่นที่มีความสัมพันธ์กับมวลอะตอม



จอห์น อเล็กซานเดอร์ ไรนา นิวแลนด์( John Alexander reina newland )


            


  
 จอห์น อเล็กซานเดอร์  ไรนา นิวแลนด์ ( 26 พฤษจิกายน 1837 – 29กรกฎาคม 1898 ) เป็นนักเคมีชาวอังกฤษที่คิดต้น ตาราธาตุ 
     นิวแลนด์เกิดในกรุงลอนดอน และเป็นบุตรชายของสก็อตเพรสไบที รัฐมนตรีว่าการกระทรวง และภรรยาของอิตาลี เขาได้ schooled บ้านโดยบิดาของเขามากกว่าจะปโรงเรียนตามปกติ การศึกษาและการไปโรงเรียนที่ ราชวิทยาลัยเคมี แต่ถูกยังไม่สนใจในการปฏิรูปสังคมและในปี 1860 เขาทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครภายใต้ Giuseppe Garibaldi สำหรับอิตาลีรวมกันเมือ่กลับไปลอนดอนเขาก้ถูกแต่งตั้งในการปฏิบัติหน้าที่เป็นนักเคมีวิเคราะห์ในปี1864 ,1868 และได้กลายเป็นหัวหน้านักเคมีในดันแคนเจมส์ลอนดอนของ โรงกลั่นน้ำตาล ที่เขานำตัวเลขการปรับปรุงในการประมวลผลภายหลังที่เขายังเหลือโรงกลั้นน้ำมันและการตั้งอีกครั้งเป็นนักวิเคราะห์เบนจามินกับพี่ชายของเขา  
           นิวแลนด์เสียชีวิตเมื่อ 29 กรกฎาคม 1898 ในบ้านของเขาที่ลอนดอน และถูกฝังที่ สุสานอร์วูดเวสต์ ธุรกิจของเขาเป็นอย่างดีหลังจากการตายของเขาโดยน้องชายของเขา เบนจามิน เอดเวิร์ด Reina Newlands (1842-1912) 

ผลงาน
     -     คิดตารางธาตุ
-          เป็นอาสาสมัครภายใต้ Giuseppe Garibaldi
รางวัล
     - ได้รับเหรียญ Davy ในปี 1887

โจเซฟ พริสต์ลีย์





เกิด        วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1738 เมืองลีดส์ (Leeds) รัฐยอร์คไชร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ    (England)
เสียชีวิต วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1804 ที่มลรัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน   - ค้นพบก๊าซออกซิเจน (Oxygen)
             - ค้นพบก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide)
             - ค้นพบก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)
             - ค้นพบก๊าซไนตรัส (Nitrous air)
             - ค้นพบก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride)
             - ค้นพบก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
             - ค้นพบก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
             - ค้นพบก๊าซซิลิคอนไฮโดรฟลูออริก (Silicon hydrofluoric)
             - ค้นพบก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen air)
             - ค้นพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)
        ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่วิชาเคมีมีความเจริญมากที่สุดก็ว่าได้ มีนักเคมีที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เฮนรี่ คาเวนดิช
เมื่อเขาเดินทางมาถึงประเทศสหรัฐอเมริกาพริสต์ลีย์ได้เดินทางต่อไปนังรัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) เพื่อพบกับเบนจามินแฟรงคลิน เพื่อนเก่าของเขา ซึ่งให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดีพร้อมกับเสนอตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania University) แต่พริสต์ลีย์ได้ปฏิเสธ เพราะเขาอายุมากแล้ว ต้องการที่จะพักผ่อนมากกว่าพริสต์ลีย์ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอยู่กับครอบครัว และการค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป ต่อมาพบก๊าซชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิดและได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมีก๊าซ (Father of Pneumatic Chemistry) พริสต์ลีย์เสียชีวิตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1804 ที่รัฐเพนน์ซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่เขาเสียชีวิตทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาด้วย





โรเบิร์ต บุนเซน (Robert Bunsen)





       โรเบิร์ต บุนเซน (Robert Bunsen) มีชื่อเต็มว่า โรเบิร์ต วิลเฮล์ม เอเบอร์ฮาร์ด บุนเซน (Robert Wilhelm Eberhard Bunsen) เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ.1811 ที่ฮันโนเวอร์ เยอรมนี เขาเป็นนักเคมีที่ศึกษาสเปกตรัมการแผ่ของวัตถุที่ได้รับความร้อน และค้นพบแร่ซีเซียม ที่ใช้ในโรงงานนิวเคลียร์ และแร่รูบิเดียม ที่สามารถติดไฟได้เองในอากาศ รวมถึงยังเป็นผู้คิดค้นตะเกียงบุนเซน อุปกรณ์ให้ความร้อนทรงประสิทธิภาพที่ให้ความร้อนใดดีกว่าอุปกรณ์เดิม ๆ ในห้องทดลองสมัยนั้นด้วย
ส่วนชีวิตของโรเบิร์ต บุนเซน นั้น เขาเติบโตมาในครอบครัวของศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์สมัยใหม่ และหัวหน้าบรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยเกิตทิงเกน เขาได้รับการศึกษาเล่าเรียนเหมือนเด็กปกติ โดยสนใจด้านเคมีเป็นพิเศษ และเริ่มมุ่งเน้นศึกษาต่อทางด้านเคมีจนจบปริญญาเอก ขณะที่อายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น และหลังจากที่เขาเรียนจบแล้ว ก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเดิตทิงเกน สถาบันเดียวกันกับพ่อและแม่ ก่อนที่จะได้รับเกียรติให้ไปสอนในมหาวิทยาลัยมาร์เบิร์ก ซึ่งตลอดเวลาที่เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยนั้น เขาก็ค้นคว้าทางด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรักทางด้านเคมี ทำให้เขาทดลองสารต่าง ๆ จนเกือบจะเสียชีวิตเพราะพิษสารหนูมาแล้ว และยิ่งไปกว่านั้น ตาขวาเขายังมองไม่เห็นหลังจากเกิดการระเบิดของคาโคดิลอีกด้วย
        จนเมื่อปี ค.ศ.1841 โรเบิร์ต บุนเซน ได้คิดค้นแบตเตอรี่บุนเซน ที่ใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนแทนขั้วไฟฟ้าแพลตินั่มที่เคยใช้กัน หลังจากนั้นเมื่อปี ค.ศ.1851 เขาก็ได้รับเกียรติเป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเบรสลอว์ และมีส่วนช่วยสอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่าเป็นศาสตราจารย์ทางเคมีที่ได้รับการยอมรับ และโด่งดังมากที่สุดในขณะนั้น จนเมื่อปี ค.ศ.1859 เขาก็ได้งานสอน มาทดลองเคมีร่วมกับ กุสตาฟ เชอร์คอฟ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสเปกตรัมการแผ่ของวัตถุที่ได้รับความร้อน ในการทดลองนี้ เขาได้คิดค้นตะเกียงบุนเซนขึ้น และพบว่ามันมีประสิทธิภาพมากกว่าตะเกียงใด ๆ เพราะร้อนกว่า แถมยังสะอาดกว่าอีกด้วย และต่อมาในปี ค.ศ.1860 เขาก็ได้ค้นพบแร่ซีเซียม ที่ใช้ในโรงงานนิวเคลียร์ และค้นพบรูบิเดียม เมื่อปี ค.ศ.1861 และได้รับรางวัลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จากสวีเดนอีกด้วย
       หลังจากนั้น โรเบิร์ต บุนเซน ก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในห้องทดลองเรื่อยมา จนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1899 บุนเซนก็เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 88 ปี แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น ชื่อของเขาก็หาได้สูญสิ้นไปกับร่างกายไม่ บุนเซนยังคงได้รับการยกย่องและพูดถึงอยู่บ่อย ๆ ในวงการวิทยาศาสตร์เคมีมาจนถึงทุกวันนี้



สวานเต ออกัส อาร์รีเนียส(Svante August Arrhenius)




         นักเคมีชาวสวิสเซอร์แลนด์ชื่อ สวานเต อาร์รีเนียส(Svante Arrhenius) หนึ่งในผู้ค้นพบวิทยาศาสตร์
ทางเคมีกายภาพสมัยใหม่ผู้หนึ่ง เขาเป็นคนแรกที่เสนอแนะว่าอิเล็กโตรไลทส์(electrolytes) หรือสารเคมีที่ละลายในน้ำได้ให้สารละลายที่นำไฟฟ้านั้นสร้างขึ้นจากอนุภาคมีประจุขนาดเล็กที่เรียกว่าไอออน(ions) ทฤษฏีไอออนิก(ionic theory)ของอาร์รีเนียสนั้นเป็นส่วนที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างของสารประกอบและพฤติกรรมของมันในสารละลายที่สำคัญมาก
        ถือกำเนิดในวฟิค(Vik) ได้รับการศึกษาจาก อัพซาลา(Uppsala) ที่อยู่ใกล้เคียง อาร์รีเนียสเริ่มตั้งทฤษฏีไอออนิกขณะยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี โดยเน้นศึกษาปรากฎการณ์ที่เรียกว่าอิเล็กโตรไลซิส(electrolysis) ก่อนอาร์รีเนียสถือกำเนิดเกือบหนึ่งศตวรรษ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าเมื่อละลายสารประกอบทางเคมีประเภทหนึ่งลงในน้ำจะนำกระแสไฟฟ้าได้ สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าอีกสิ่งหนึ่งคือการค้นพบว่าภายใต้ผลของกระแสไฟฟ้า สารละลายจะแตกตัว และมักให้ธาตุประกอบของสารประกอบที่ถูกละลาย ทุกวันนี้อิเล็กโตรไลซิสได้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในโรงงานเพื่อแยกธาตุต่างๆออกจากสารประกอบเหล่านี้ แต่ในช่วงเวลาของอาร์รีเนียส อิเล็กโตรไลซิสนั้นยังเป็นสิ่งที่ลึกลับ แม้ความจริงที่ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหากฎที่เกี่ยวข้องกับผลนี้ได้แล้ว แต่ยังไม่มีการอธิบายปรากฎการณ์นี้ได้
    อย่างไรก็ตาม ทฤษฏีของอาร์รีเนียสมิได้ทำให้ผู้คนเชื่อ นักวิทยาศาสตร์เกือบทั้งหมดอ้างถึงเรื่องนี้ว่าเป็นผลที่เกิดจากการเดาโดยไม่มีการพิสูจน์ พวกเขาชี้ให้เห็นว่าอาร์รีเนียสไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดไอออนมิได้แสดงให้เห็นลักษณะทางเคมีของอะตอมที่มิได้รับประจุที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เหตุใดเมื่อมีประจุไฟฟ้าอยู่ทำให้เกิดผลที่มีพลังงานมากเช่นนี้ และอาร์รีเนียสเองยังไม่สามารถกลไกลที่ซึ่งอะตอมได้รับประจุด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการวิจารณ์อย่างหนักหน่วงอาร์รีเนียสนั้นเชื่อว่าทฤษฏีของเขานั้นถูกต้อง และเมื่อปี 2427 เขาได้ยื่นผลการทดลองของเขาส่วนหนึ่ง เพื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยอัพพ์ซาลา ผู้ตรวจสอบงานนี้คนหนึ่งคือผู้ที่สอนอาร์รีเนียส ซึ่งเป็นนักเคมีที่มีชื่อเสียงมาก ชื่อ แปร คลีพ(Per Cleve) คลีพนั้นได้ตัดสินใจไม่ยอมรับทฤษฏีไอออนิกก่อนหน้านี้แล้ว และใช้อิทธิพลของเขาเพื่อให้แน่ใจว่าอาร์รีเนียสได้รับคะแนนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าขบขันที่ชั่วร้ายที่เกิดกับอาร์รีเนียส จากผลนี้มหาวิทยาลัยต้องประกาศการไม่ยอมรับทฤษฏีไอออนิกอย่างเป็นทางการ


ที่มา http://zodafires.wordpress.com/category